
น้อง ๆ ม.6 หลายคนคงตื่นเต้นกันในช่วงนี้ เพราะใกล้ถึงเวลาที่จะต้องลงทะเบียนในระบบ TCAS ที่จะเปิดในช่วงปลายปี หลาย ๆ คนมีมหาวิทยาลัยที่วาดฝันเข้าศึกษาต่อแล้ว ซึ่งหนึ่งในมหาลัยฯ ในใจของหลาย ๆ คน เราเชื่อว่าต้องมีชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดอยู่ในท็อปลิสต์อย่างแน่นอน วันนี้ทาง House of Griffin จึงได้รวบรวมเกณฑ์ Admission จุฬาฯ อินเตอร์ ปี 2567 ฉบับล่าสุด ในหลากหลายคณะมาฝากน้อง ๆ ให้ได้เตรียมตัวกันล่วงหน้า จะมีรายละเอียดของคณะอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
เกณฑ์ Admission จุฬาฯ อินเตอร์ คณะต่าง ๆ
1. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (Faculty of Commerce and Accountancy)
คณะบริหารอินเตอร์ จุฬาฯ คณะฮอตฮิตตลอดกาล ถือเป็นหลักสูตรแรกของจุฬาฯ ที่มีการเปิดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยเปิดรับสมัคร 2 โครงการ คือ โครงการเข้าศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจ (ปกติ) และ โครงการ BBA-Next Gen Admission (โควตาพิเศษ) ซึ่งน้อง ๆ สามารถเลือกสมัครสอบ Admission จุฬาฯ อินเตอร์ได้เพียง 1 โครงการเท่านั้น
คณะบริหาร จุฬาฯ อินเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลัก ดังนี้
การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management)
แบ่งได้อีกเป็น 3 สาขาย่อย คือ
- การจัดการธุรกิจดิจิทัล
- การวิเคราะห์การเงินและการลงทุน (Financial Analysis) และ
- การจัดการแบรนด์และการตลาด
การบัญชี (Accounting)
นิสิตจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำบัญชีที่มีประสิทธิภาพของนานาประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับการบริหารธุรกิจสมัยใหม่
หลักสูตรบริหารธุรกิจ จุฬาฯ อินเตอร์ / คะแนน | โครงการหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจระหว่าประเทศ สาขาวิชาบัญชี | โครงการ BBA-Next Gen Admission สาขาการจัดการธุรกิจระหว่าประเทศ สาขาวิชาบัญชี |
---|---|---|
คะแนนภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) |
|
|
คะแนนคณิตศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) |
|
|
คุณสมบัติเพิ่มเติม | ต้องมีคลิปวิดีโอประวัติ (Video Resume) และ แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่แสดงความสามารถทางวิชาการในระดับชาติ หรือนานาชาติทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ธุรกิจ หรือการสื่อสาร |
หมายเหตุ เลือกสมัครได้เพียง 1 โครงการเท่านั้น หากสมัครมากกว่า 1 โครงการ ถือเอาโครงการที่สมัครและชำระเงินหลังสุด
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : 180 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
อ่านประกาศรับสมัครโครงการ BBA-Next Gen คลิก
2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
คณะนี้ไม่พูดถึงไม่ได้เช่นกัน หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) สำหรับการสอบ Admission จุฬาฯ อินเตอร์
มีทั้งหมด 6 หลักสูตร คือ
- วิศวกรรมนาโน – Nano Engineering (NANO-BIO)
- วิศวกรรมอากาศยาน – Aerospace Engineering (AERO)
- วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร – Information and Communication Engineering (ICE)
- วิศวกรรมการออกแบบและผลิตยานยนต์ – Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME-V)
- วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ – Robotics and Artificial Intelligence Engineering (ROBOTICS AI)
- วิศวกรรมเคมีและกระบวนการ – Chemical and Process Engineering (ChPE)
โดย 5 หลักสูตรแรกจะมีเกณฑ์การรับสมัครเดียวกัน ซึ่งมีเกณฑ์ขั้นต่ำเป็นตัวเลือกตามเงื่อนไข ส่วนหลักสูตรที่ 6 จะมีเกณฑ์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยคะแนนที่ใช้ต้องถึงเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งหลัก ๆ น้อง ๆ ต้องยื่นคะแนนทั้งหมด 3 ชุด คือ คะแนนทักษะภาษาอังกฤษ คะแนนทักษะทางคณิตศาสตร์ และคะแนนทักษะทางวิทยาศาสตร์ ตามข้อมูลสรุปด้านล่าง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อินเตอร์ / คะแนน | ISE – NANO-BIO, AERO, ICE, ADME-V, ROBOTICS AI | ChPE |
---|---|---|
คะแนนภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) |
|
|
คะแนนคณิตศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) |
|
|
คะแนนวิทยาศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) |
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission สำหรับทุกหลักสูตร :
27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission :
- ISE 245 คน
- ChPE 40 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติมของ 5 หลักสูตรแรก ISE คลิก
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติมของ ChPE คลิก
3. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (Faculty of Architecture)
คณะสถาปัตย์อินเตอร์ จุฬาฯ ชื่อคุ้นหู ติดเทรนด์อยู่เสมอ เด็กสายศิลป์ มีฝีมือวาดเขียน ต้องมีอยู่ในลิสต์สอบ Admission จุฬาฯ อินเตอร์อย่างแน่นอน ซึ่งคณะนี้มีทั้งหมด 2 สาขา คือ
- การออกแบบสถาปัตยกรรม – Architectural Design (INDA) เน้นการออกแบบภายในอาคาร
- การออกแบบนิเทศศิลป์ – Communication Design (CommDe) เน้นการออกแบบเพื่อการสื่อสาร ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
โดยทั้งสองหลักสูตรนั้น ก็จะมีเกณฑ์คะแนนที่ต้องใช้ยื่นแตกต่างกันออกไป ดังนี้
คณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯ อินเตอร์ / คะแนน | สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม (INDA) | สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ (Commde) |
---|---|---|
คะแนนภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนตามเกณฑ์ / คะแนนขั้นต่ำที่ต้องมี ถ้าคะแนนของอีกสองทักษะถึงเกณฑ์ที่กำหนด
|
|
คะแนนคณิตศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนตามเกณฑ์ / คะแนนขั้นต่ำที่ต้องมี ถ้าคะแนนของอีกสองทักษะถึงเกณฑ์ที่กำหนด
|
|
ความถนัดสถาปัตยกรรม
CU-TAD | คะแนนตามเกณฑ์ / คะแนนขั้นต่ำที่ต้องมี ถ้าคะแนนของอีกสองทักษะถึงเกณฑ์ที่กำหนด
| |
หมายเหตุ | *โดยที่ถ้ามีคะแนนทักษะที่ถึงเกณฑ์ เพียง 2 ใน 3 จากที่กำหนด อีกทักษะจำเป็นจะต้องมีคะแนนขั้นต่ำถึงที่ทางคณะกำหนด
เช่น มีคะแนน IELT 6.0 และ SAT (Math) 570 แต่มีคะแนน CU-TAD เพียงแค่ 48 ที่ไม่ถึงเกณฑ์แรก 50 คะแนน แต่มากกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 45 คะแนน ก็สามารถยื่นสมัครได้ |
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission :
INDA 80 คน และ Commde 50 คน
อ่านประกาศรับสมัคร INDA เพิ่มเติม คลิก
อ่านประกาศรับสมัคร Commde เพิ่มเติม คลิก
4. คณะอักษรศาสตร์ (Faculty of Arts)
มาที่สายภาษากันบ้าง หลักสูตรนานาชาติของคณะอักษรศาสตร์มีเพียงสาขาวิชาเดียว ซึ่งก็คือ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม หรือที่เรียกกันว่า BALAC ที่พึ่งมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ในปี 2561 และเพิ่มวิชาเรียนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมโลก และวัฒนธรรมสื่อ ให้นิสิตได้เลือกเรียนตามความสนใจ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันด้วย
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น: ผลสอบย้อนหลังไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการรับสมัคร
ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนวิชาการ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
---|---|
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : 90 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
5. คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Science)
หลักสูตรนานาชาติของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีทั้งหมด 2 สาขา ให้เลือกเรียนแบบเจาะลึกเอาใจเด็กสายวิทย์ คือ
เคมีประยุกต์ – Applied Chemistry (BSAC) แบ่งออกเป็น 4 ด้าน
เคมีเพื่อการประยุกต์ด้านอุตสาหกรรมและการจัดการ
เคมีเพื่อการประยุกต์ด้านวัสดุ
เคมีสิ่งแวดล้อม
เคมีเครื่องสำอางและการเป็นผู้ประกอบการ
เทคโนโลยีชีวภาพ – Biotechnology (BBTech)
โดยทั้งสองหลักสูตรนั้น ก็จะมีเกณฑ์คะแนนที่ต้องใช้ยื่นแตกต่างกันออกไป ตามตารางด้านล่างค่ะ
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ อินเตอร์ / คะแนน | สาขาวิชาเคมีประยุกต์ (BSAC) | สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ (BBTech) |
---|---|---|
คะแนนภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนตามเกณฑ์ / คะแนนขั้นต่ำที่ต้องมี ถ้าคะแนนของอีกสองทักษะถึงเกณฑ์ที่กำหนด
|
|
คะแนนคณิตศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนตามเกณฑ์ / คะแนนขั้นต่ำที่ต้องมี ถ้าคะแนนของอีกสองทักษะถึงเกณฑ์ที่กำหนด
|
|
คะแนนวิทยาศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนตามเกณฑ์ / คะแนนขั้นต่ำที่ต้องมี ถ้าคะแนนของอีกสองทักษะถึงเกณฑ์ที่กำหนด
| มีผลการเรียน / ผลสอบวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับม.ปลายหรือเทียบเท่า
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : BSAC 90 คน และ BBTech 50 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม BSAC คลิก
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม BBTech คลิก
6. คณะเศรษฐศาสตร์ (Faculty of Economics)
มาต่อกันที่อีกคณะที่เป็นที่นิยมของน้อง ๆ Gen Z มุ่งมั่นในการสอบ Admission จุฬาฯ อินเตอร์ เพราะอยากเรียนรู้เกี่ยวกับภาพรวมและทิศทางของเศรษฐกิจต้องคณะนี้เลย การเรียนการสอนในคณะจะเตรียมให้นิสิตได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจด้านธุรกิจต่าง ๆ พร้อม Soft Skill ติดตัว อย่างเช่น ทักษะการบริหารหรือการพรีเซนต์งานต่าง ๆ และฝึกทักษะการวิเคราะห์ เพื่อกลายเป็นผู้นำ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและกลยุทธ์ของบริษัทชั้นนำระดับโลกได้
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นที่แรกในประเทศ ที่จัดสอนในหลักสูตรนานาชาติ ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และยังมีสถาบันที่มีความร่วมมือในโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนมากมายทั่วโลก เปิดโอกาสให้นิสิตได้สัมผัสประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบนานาชาติ น่าสนใจขนาดนี้ต้องใช้คะแนนอะไรยื่นบ้างไปดูกันเลย
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:
ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
---|---|
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : 140 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
7. สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ (School of Integrated Innovation)
ใครที่อยากเริ่มบริษัท Start Up เป็นของตัวเอง รับรองว่าคณะนี้ตอบโจทย์แน่นอน เตรียมตัวสอบ Admission จุฬาฯ อินเตอร์คณะนี้ได้เลย เพราะนอกจากจะได้เรียน Soft Skill ต่าง ๆ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นทางด้านธุรกิจ และเทคโนโลยีแล้ว นิสิตทุกคนยังจะได้ทำโปรเจกต์ที่เป็น Start Up ของตัวเอง ในตลอดการเรียนทั้ง 4 ปีอีกด้วย
สถาบันนวัตกรรมบูรณาการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ ด้านนวัตกรรมบูรณาการ เพื่อตอบสนองความต้องการ และการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน เพื่อที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการเผชิญกับความท้าทายทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และมีด้วยกัน 4 สาขา คือ
- กลุ่มสุขภาวะและการอยู่ดีมีสุข (Health and Wellbeing)
- กลุ่มชุมชนเสมอภาคและเมืองอัจฉริยะ (Inclusive Community and Smart City)
- กลุ่มการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
- กลุ่มปัญญาดิจิทัลเชิงประยุกต์ (Applied Digital Intelligence)
โดยเกณฑ์การยื่นคะแนนของทั้ง 4 สาขาจะเหมือนกันตามเกณฑ์ด้านล่าง ดังนี้
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:
ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
---|---|
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : 80 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
8. คณะนิเทศศาสตร์ (Faculty of Communication Arts)
คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการจัดการการสื่อสาร หลักสูตรนานาชาติ เป็นอีกหนึ่งคณะที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเติบโตของสื่ออย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน โดยจะเน้นไปในเรื่องการบริหารจัดการสื่อ และการสื่อสารต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับยุคของข้อมูลข่าวสาร หรือที่เรียกว่า Information Age เพื่อให้นิสิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกของสื่อที่กำลังเติบโตไปอย่างเร็วรวด การเรียนการสอนเลยจะเน้นเรื่องการจัดการข้อมูล และการสื่อสาร ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:
ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
---|---|
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : 70 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
9. คณะจิตวิทยา (Faculty of Psychology)
หลักสูตรนานาชาติของคณะจิตวิทยา จะเป็นโครงการร่วมระหว่างจุฬาฯ และ University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย โดยนิสิตจะได้เรียน 2 ปีแรกที่จุฬาฯ และ อีก 3 เทอม ที่ University of Queensland และกลับมาเรียนเทอมสุดท้ายที่จุฬาฯ
โดยจะเป็นการเรียนเกี่ยวกับประสาทศาสตร์เชิงพฤติกรรม หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า behavioral neuroscience ที่จะศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและร่างกายผ่านการทำงานของสมอง โดยจุดเด่นของหลักสูตร JIPP ของจุฬาฯ คือ การผสมผสานมุมมองด้านจิตวิทยาของทั้งตะวันออกและตะวันตกได้เป็นอย่างดี มีความน่าสนใจขนาดนี้ มีเกณฑ์คะแนนรับสมัครอะไรบ้าง ตามรายละเอียดด้านล่างเลยค่ะ
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:
ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
---|---|
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : 50 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
10. คณะรัฐศาสตร์ (Faculty of Political Science)
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีการเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติอยู่ด้วยกัน 1 สาขา ซึ่งก็คือ สาขาวิชาการเมืองและโลกสัมพันธ์ศึกษา หรือ Politics and Global Studies (PGS) ซึ่งเป็นหลักสูตรแบบ Double-Degree กับมหาวิทยาลัย University of Essex จากสหราชอาณาจักร และ University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย
แผนการเรียนที่ 1
- ปีที่ 1 และ 4 ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปีที่ 2-3 ศึกษาที่มหาวิทยาลัย University of Essex จากสหราชอาณาจักร
แผนการเรียนที่ 2
- ปีที่ 1 และ 4 ศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปีที่ 2-3 ศึกษาที่ University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย
การเรียนที่คณะนี้จะทำให้นิสิตสามารถปรับตัวเข้าได้ทั้งกับสภาพแวดล้อมการรู้แบบนานาชาติได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังช่วยเตรียมพร้อมทักษะความเป็นผู้นำ ด้วยประสบการณ์ระดับนานาชาติ และองค์ความรู้ที่จะสามารถนำไปแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระดับนานาชาติได้เป็นอย่างดี
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:
ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนรวมของภาษาอังกฤษและคะแนนคณิตศาสตร์ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
---|---|
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : แผนการเรียนที่ 1 จำนวน 25 คน และแผนการเรียนที่ 2 จำนวน 25 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
11. คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law)
สำหรับที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ภาคอินเตอร์ จะเป็นการเรียนในสาขากฎหมายธุรกิจและเทคโนโลยี หรือ Business and Technology Law (LLBEL) ซึ่งจะเป็นการเตรียมนิสิตให้มีทักษะพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ พร้อมความรู้ด้านหลักกฎหมาย ที่จะสามารถทำให้นิสิตกลายเป็นผู้นำในสายอาชีพนี้ได้อย่างแท้จริง สามารถเข้าไปทำงานกับทางภาครัฐหรือเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ ใครที่สนใจเข้าเรียนคณะนี้ ต้องใช้คะแนนอะไรบ้าง ไปดูได้เลย
คะแนนที่ต้องใช้ยื่น :
ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) | คะแนนวิชาการ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) |
---|---|
|
|
รอบรับสมัคร Early Admission : 27 พฤศจิกายน – 21 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับรอบ Early Admission : 60 คน
อ่านประกาศรับสมัครเพิ่มเติม คลิก
อยากเข้า Admission จุฬาฯ อินเตอร์ ต้องเตรียมตัวอย่างไร
จากข้อมูลด้านบนที่เรานำมาฝากกัน การสอบ Admission จุฬาฯ อินเตอร์ต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษยืนพื้นไม่ว่าจะเป็น TOEFL หรือ IELTS ที่มีเกณฑ์ค่อนข้างสูง หรือแม้กระทั่งคะแนนคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ที่ควรมีสอบติดไว้ ก็คือ SAT คะแนนเหล่านี้น้อง ๆ สามารถสอบเตรียมไว้ล่วงหน้าได้เลยเพราะสามารถเก็บได้ถึง 2 ปี
ถ้าเราเตรียมตัวล่วงหน้านาน ๆ เราจะมีโอกาสสอบแก้ตัวได้ก่อนถึงกำหนดรับสมัครสอบ แต่เนื่องจากค่าสอบแต่ละวิชาก็ไม่ใช่น้อย ๆ ถ้าสอบหลายครั้ง ก็เอาเรื่องเหมือนกัน ดังนั้นน้อง ๆ ควรเตรียมตัวสอบอย่างดี และทำข้อสอบให้เต็มที่ทุกครั้ง ถ้าใครลองสอบแล้ว ยังไม่ได้คะแนนตามที่หวังไว้ ลองมาติวเก็บเทคนิคดี ๆ ที่ House of Griffin ได้นะคะ เรามีครบทุกคอร์สเตรียมสอบเข้าอินเตอร์ ลองทำข้อสอบเก่าจนชินมือ เน้นเรียนกลุ่มเล็ก ดูแลใกล้ชิดรายบุคคล รับรองสอบผ่านได้คะแนนตามที่หวัง พิสูจน์ได้จาก Success Story ที่มีมากมาย