BMAT เปิดรับสมัครสอบตั้งแต่วันที่ 1-29 กันยา 2566 สมัครได้ทั้งที่ British Council และ Capwise

ค่าสอบ

9,500 บาท

สถานที่สอบ

สมัครกับ British Council ไปสอบที่ >> ไบเทค บางนา (ฮอลล์ EH 102)
สมัครกับ Capwise ไปสอบที่ >> JJ Mall

สมัครสอบ

ติว BMAT ที่ House of Griffin

BMAT คือ BioMedical Admission Test จัดโดย Cambridge Assessment Admissions Testing, University of Cambridge เป็นข้อสอบเฉพาะทางมาตรฐานนานาชาติ เหมาะสำหรับนักเรียนที่กำลังสนใจอยากจะเข้าศึกษาต่อด้านแพทย์ ทันตะ เภสัช

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความของเรา:

BMATคืออะไร?
รายละเอียด BMAT Section 1 พร้อมตัวอย่าง
รายละเอียด BMAT Section 2 พร้อมตัวอย่าง
เคล็ดลับทำคะแนนข้อสอบ BMAT Writing Task
วิธีคิดคะแนน BMAT

ติว BMAT เข้าแพทย์อินเตอร์

เมื่อนักเรียนทราบแล้วว่า BMAT คืออะไร และข้อสอบ BMAT เป็นแบบไหน ทีนี้ก็มาถึงเรื่องการเตรียมตัวสอบแพทย์กันค่ะ โดยสถาบัน House of Griffin ขอแนะนำหลักสูตร BMAT 2 ระดับ คือ

  • BMAT Junior: เหมาะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเนื้อหาในระดับนี้จะเป็นการปูพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่การเรียน BMAT Advanced
  • BMAT Advanced: เหมาะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเนื้อหาจะครอบคลุมวิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ พร้อมกับตะลุยโจทย์ BMAT ทั้ง 3 ส่วน อย่างเข้มข้น 

ทางสถาบันพร้อมทีมวิชาการจะช่วยวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของนักเรียนทุกคนตลอดหลักสูตร รวมไปถึงให้นักเรียนฝึกตะลุยโจทย์เก่าพร้อมกับทำ mock test จนมั่นใจก่อนลงสนามสอบ

BMAT

BMAT สอบอะไรบ้าง

ข้อสอบ BMAT จะมีทั้งหมด 3 ส่วน ใช้เวลาสอบ 2 ชั่วโมง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: BMAT สอบอะไรบ้าง

การคิดคะแนนข้อสอบ BMAT

  • ข้อสอบส่วนที่ 1-2 คะแนนเต็ม 9.0

เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 1 – 9 โดยมหาวิทยาลัยทั่วไปอาจจะมีการกำหนดเอาไว้ที่ช่วง 5 – 6 คะแนน

  • ข้อสอบส่วนที่ 3 จะมีผู้ตรวจข้อสอบ 2 ท่าน

ในข้อสอบส่วนที่ 3 นี้จะแบ่งการให้คะแนนออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการให้คะแนนด้านเนื้อหาซึ่งจะมีเกณฑ์คะแนนอยู่อยู่ที่ลำดับ 0–5 และส่วนที่สองจะเป็นการให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีเกณฑ์การให้คะแนนเป็น A, C และ E 

การให้คะแนนด้านเนื้อหาในส่วนที่ 3 (1–5 คะแนน)

  • 1 คะแนน คือ เป็นการเขียนตอบที่พอใช้ได้ แต่ยังเขียนอธิบายไม่ตรงประเด็น
  • 2 คะแนน คือ เป็นการเขียนที่ตรงประเด็น แต่มีการขาดรายละเอียดหรือใจความสำคัญไป
  • 3 คะแนน คือ สามารถเขียนตอบทุกแง่มุมของคำถามได้ดี และสามารถโต้แย้งอย่างสมเหตุสมผล
  • 4 คะแนน คือ มีการเขียนตอบที่ผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ตอบตรงประเด็นรวมไปถึงสามารถสร้างข้อโต้แย้งได้ดีและมีการจัดเรียงประโยคที่ดี
  • 5 คะแนน คือ สามารถเขียนตอบได้ดีเยี่ยม ไม่มีจุดบกพร่องที่สำคัญ มีความชัดเจน ตอบตรงประเด็นในทุกมุมมองและมีการใช้โครงสร้างประโยคในการแสดงออกถึงความคิดได้อย่างดี รวมไปถึงสามารถสังเคราะห์ข้อมูลหรือสรุปในเชิงลึกได้อย่างชัดเจน 

เกณฑ์การให้คะแนนด้านการใช้ภาษาอังกฤษในส่วนที่ 3 

  • Band A คือ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี อาจมีข้อผิดพลาดได้เพียงเล็กน้อยโดยดูจากคำตอบที่ลื่นไหล สามารถสร้างประโยคที่ดี ใช้คำศัพท์ ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน รวมไปถึงการสะกดคำที่ถูกต้องเหมาะสม
  • Band C คือ การใช้ภาษาอังกฤษระดับพอใช้ โดยดูจากคำตอบที่อ่านแล้วพอลื่นไหลแต่ยังใช้คำศัพท์ได้ไม่เหมาะสมตรงประเด็นเสียทีเดียว มีการสะกดคำ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและการใช้ไวยากรณ์ในระดับพอใช้อ่านเข้าใจแต่ยังไม่สละสลวย โครงสร้างประโยคในบางครั้งยังง่ายจนเกินไป
  • Band E คือ สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ดีเท่าที่ควร ผู้ตรวจไม่สามารถอ่านคำตอบได้อย่างลื่นไหล ต้องอ่านซ้ำและทำความเข้าใจหลายรอบ รวมไปถึงการใช้คำศัพท์ โครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ การสะกดคำ ย่อหน้าและเครื่องหมายวรรคตอนที่ไม่สมบูรณ์ หรือมีข้อผิดพลาดอย่างชัดเจน

โดยคะแนนจะออกมาเป็น 2 ส่วน เช่น 5A หมายถึง perfect score

การคิดคะแนนเฉลี่ยดังนี้
AA = A
AC = B
CC = C
CE = D
EE = E

ตัวอย่างเช่น
งานเขียนชิ้นที่ 1 ผู้ตรวจคนที่ 1 ให้คะแนน 4C ผู้ตรวจคนที่ 2 ให้คะแนน 4A
เฉลี่ยคะแนนที่ได้รับ คือ 4B 
หรือ
งานเขียนชิ้นที่ 2 ผู้ตรวจคนที่ 1 ให้คะแนน 3C ผู้ตรวจคนที่ 2 ให้คะแนน 2C
เฉลี่ยคะแนนที่ได้รับ คือ 2.5C
เป็นต้น

การสมัครและค่าสมัครสอบ BMAT

นักเรียนสามารถสอบ BMAT ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ต่อหนึ่งรอบการสอบแอดมิชชั่น โดยปรึกษาสมัครสอบ BMAT ได้ที่ House of Griffin

ค่าสมัครสอบ

ค่าธรรมเนียมการสอบแบบลงทะเบียนปกติ 6,950 บาท
ค่าธรรมเนียมการสอบแบบลงทะเบียนล่าช้า 8,700 บาท

ผลสอบ BMAT ใช้ยื่นที่ไหนได้บ้าง

มหาวิทยาลัยของไทยที่ใช้คะแนน BMAT รอบ พฤศจิกายน 2564

  • คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
  • คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • CICM วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์และคณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์ สจล.
  • โครงการผลิตแพทย์ร่วม คณะแพทยศาสตร์ มศว และ ม.นอตติงแฮม สหราชอาณาจักร
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์ สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มทส.
  • คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ม.นวมินทราธิราช
  • MIDS คณะทันตแพทยศาสตร์ มหิดล
  • คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น

ตรวจสอบได้ที่ https://www.admissionstesting.org/campaigns/bmat-thailand/

เช็ก Requirements และเกณฑ์คะแนนแต่ละคณะ

DENT

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
LINE: @houseofgriffin