น้องคนไหนที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าอยากเรียนต่อคณะ ISE CU ห้ามพลาดบทความนี้เลย เพราะพี่กริฟฟินก็ได้นำเอาข้อมูลเกี่ยวกับคณะวิศวะอินเตอร์ จุฬาฯ มาฝากกันแบบเน้น ๆ ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและสาขาการเรียน ค่าเทอม เกณฑ์รับสมัครและจำนวนนิสิตที่เปิดรับในแต่ละปี ตลอดจนตัวเลือกอาชีพและฐานเงินเดือนในอนาคตมาแชร์ให้น้อง ๆ ได้พิจารณาเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจสมัครเรียน
คณะ ISE CU คืออะไร?
ISE CU คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ อินเตอร์ ที่อยู่ในความดูแลของ Chula International School of Engineering หรือสถาบันวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2548 จึงเป็นหนึ่งในคณะวิศวะอินเตอร์ที่เก่าแก่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังขึ้นชื่อว่าเป็นสถาบันด้านวิศวกรรมศาสตร์ระดับ Top ของภูมิภาค ASEAN รวมไปถึงยังเป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้นิสิตสามารถเลือกเข้าร่วมโครงการเรียนแลกเปลี่ยนแลกฝึกงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและองค์กรชั้นนำในต่างประเทศได้อีกด้วย
หลักสูตร ISE จุฬา เรียนอะไร
หลักสูตรวิศวะ อินเตอร์ เน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์แบบเชิงลึกในสาขาที่นิสิตเลือกเรียนควบคู่ไปกับทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับสากล โดยมีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้ก้าวทันโลกอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ครอบคลุมองค์ความรู้และทักษะที่เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมทั่วโลก ซึ่งหลักสูตรนี้จะมีการเรียนการสอนทั้งหมดเป็นเวลา 4 ปี และสามารถเลือกสาขาการเรียนได้ถึง 6 สาขาวิชา ดังนี้
1. Automotive Design and Manufacturing Engineering (ADME-V) สาขาวิศวกรรมการออกแบบเครื่องกลการผลิต
หลักสูตรนี้เป็น “หลักสูตรแรก” ที่วิศวะอินเตอร์ จุฬาเปิดสอน มีจุดมุ่งหมายในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการผลิตยานยนต์เพื่อการส่งออก นิสิตจะได้ศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานและโครงสร้างของยานยนต์ การออกแบบยานยนต์และการวางระบบภายใน การประกอบชิ้นส่วน รวมไปถึงการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องกล โดยนอกจากให้ความสำคัญกับการศึกษาระบบของรถยนต์สันดาป (รถยนต์ที่ใช้ระบบน้ำมันและแก๊ส) แล้ว ยังมีการเพิ่มการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาเพื่อให้ตอบโจทย์การเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันและปรับชื่อหลักสูตรจาก ADME เป็น ADME-V
2. Aerospace Engineering (AERO) สาขาวิศวกรรมการบิน
สาขาวิศวกรรมการบิน หรือวิศวกรรมอากาศยาน เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของกองทัพอากาศไทยโดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินของอาเซียน จึงทำให้เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาเข้มข้นและครอบคลุมทั้งในด้านของการทำความเข้าใจโครงสร้างของเครื่องบิน การซ่อมแซม การบำรุงรักษาเครื่องบิน กลไกภายในระบบการบิน ตลอดจนการออกแบบเครื่องบินเป็นหลัก และจากการที่อุตสาหกรรมด้านอวกาศกำลังเติบโตเพิ่มขึ้น ทางคณะก็ได้เพิ่มรายวิชาเลือกเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องระบบการบินและการทำงานของจรวดเข้ามาให้เลือกศึกษากันด้วย
3. Information and Communication Engineering (ICE) สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมการสื่อสาร
สาขานี้เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการความรู้ใน 3 สาขาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมอุตสาหการ นิสิตจึงได้รับความรู้ทั้งด้านการเขียนโปรแกรม, การวิเคราะห์ข้อมูล, เครือข่ายคอมพิวเตอร์, ปัญญาประดิษฐ์, การออกแบบเว็บไซต์ เกม หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมไปถึงได้ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการสื่อสารคมนาคมและระบบไฟฟ้าร่วมด้วย
4. Nano-Engineering (NANO) สาขาวิศวกรรมนาโน
หลักสูตรวิศวกรรมนาโน หรือวิศวจุลภาค เป็นหลักสูตรแบบผสมผสานความรู้ในด้านวิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมชีวการแพทย์, วิศวกรรมวัสดุและวิศวกรรมการผลิต โดยบูรณาการความรู้ทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อการพัฒนาเครื่องมือนาโนเทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เคมี และการแพทย์ โดยจะมีสาขาย่อยอีก 2 สาขาให้เลือกเรียน ได้แก่
- Bioengineering เน้นการพัฒนาความรู้ด้านชีววิทยา ชีวการแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์หรือการสร้างอวัยวะเทียม
- Advanced Material Engineering เน้นการศึกษาเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีเพื่อนำไปประยุกต์ พัฒนา และปรับปรุงคุณสมบัติวัสดุต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
5. Robotics and Artificial Intelligence Engineering (RAIE) สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
สาขาการเรียนที่มีการประยุกต์และบูรณาการความรู้ทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมคอมพิวเตอร์, วิศวกรรม Mechatronic รวมไปถึงความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและ AI เข้าด้วยกัน นิสิตจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม, การออกแบบ ผลิต ซ่อมบำรุงและปรับปรุงเครื่องจักรและหุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์, การพัฒนาระบบ Mechatronic, การเขียนโปรแกรม และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างครอบคลุม
6. Semiconductor Engineering (SEMI) สาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์
สาขาน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2568 โดยจะศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและผลิต “เซมิคอนดักเตอร์” หรือชิปขนาดเล็กที่เป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์และระบบยานยนต์ขั้นสูง นิสิตจะได้รับความรู้ทั้งด้านพลังงานไฟฟ้า ระบบควบคุมเทคโนโลยีการสื่อสาร หลักฟิสิกส์และนาโนวัสดุ การออกแบบวงจร ควบคู่ไปกับการศึกษาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ IoT หรือ Internet of Things ที่เป็นเครือข่ายของอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและสื่อสารกันได้โดยอัตโนมัติ รวมถึงการรวบรวม แลกเปลี่ยน และวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
เกณฑ์รับสมัคร ISE CU ใช้คะแนนอะไรบ้าง ?
คณะวิศวะอินเตอร์ จุฬา มีการเปิดรับนิสิต 2 รอบ ได้แก่ รอบ Early Admission จำนวน 245 คน (ยื่นคะแนนสอบ 220 คนและยื่น Portfolio 25 คน*) และรอบ Admission อีก 75 คน กำหนดให้ผู้ที่กำลังศึกษา หรือจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือวุฒิการศึกษาระดับนานาชาติ เช่น วุฒิ GED, IGCSE, IB Diploma หรือวุฒิอื่น ๆ ที่เทียบเท่ากับวุฒิมัธยมปลายในการยื่นสมัครเรียนได้ โดยจะต้องยื่นคะแนนผลทดสอบระดับภาษาอังกฤษและผลทดสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ควบคู่มากับการสมัครในทุกครั้ง รายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้เลย
รอบ Early Admission (ยื่นคะแนน) | รอบ Early Admission (Portfolio)* | รอบ Admission | |
คะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | TOEFL (iBT) ≥ 80
IELTS ≥ 6.0 CU-TEP ≥ 80 DET ≥ 105 |
TOEFL (iBT) ≥ 80
IELTS ≥ 6.0 CU-TEP ≥ 80 DET ≥ 105 |
TOEFL (iBT) ≥ 80
IELTS ≥ 6.0 CU-TEP ≥ 80 DET ≥ 105 |
คะแนนผลสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | CU-AAT (Math) ≥ 480
SAT (Math) ≥ 620 A-Level (Mathematic) ≥ B A-Level (Mathematic) Predicted Grade ≥ A IB (Mathematic) HL ≥ 6 ACT (Math) ≥ 26 AP Calculus (AB/ BC) ≥ 4 |
– | CU-AAT (Math) ≥ 480
SAT (Math) ≥ 620 A-Level (Mathematic) ≥ B A-Level (Mathematic) Predicted Grade ≥ A IB (Mathematic) HL ≥ 6 ACT (Math) ≥ 26 AP Calculus (AB/ BC) ≥ 4 |
คะแนนผลทดสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) | CU-ATS ≥ 800
A-Level (Physics และ Chemistry) ≥ B (ในแต่ละวิชา) A-Level (Physics และ Chemistry) Predicted Grade ≥ A (ในแต่ละวิชา) IB (Physics และ Chemistry) HL ≥ 6 (ในแต่ละวิชา) ACT (Science) ≥ 25 AP Physics และ Chemistry (1/C) ≥ (ในแต่ละวิชา) |
– | CU-ATS ≥ 800
A-Level (Physics และ Chemistry) ≥ B (ในแต่ละวิชา) A-Level (Physics และ Chemistry) Predicted Grade ≥ A (ในแต่ละวิชา) IB (Physics และ Chemistry) HL ≥ 6 (ในแต่ละวิชา) ACT (Science) ≥ 25 AP Physics และ Chemistry (1/C) ≥ (ในแต่ละวิชา) |
จำนวนนิสิตที่รับ | ADME-V 30 คน
AERO 30 คน ICE 80 คน NANO 40 คน ROBOTICS AI 40 คน
|
ADME-V 5 คน
AERO 3 คน ICE 7 คน NANO 5 คน ROBOTICS AI 5 คน
|
ADME-V 5 คน
AERO 2 คน ICE 13 คน NANO 5 คน ROBOTICS AI 5 คน SEMI 45 คน |
**สำหรับรอบ Portfolio จะรับเฉพาะผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (รวม 5 ภาคการศึกษา หรือเทียบเท่า) ไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลการเรียนเฉลี่ยในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์และเคมี) และกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.25 (หรือหากจบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว จะต้องยื่นผลการเรียนเฉลี่ยรวม 6 ภาคการศึกษา) และจำเป็นที่จะต้องยื่นแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่แสดงถึงความสามารถทางวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติในด้านคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงมีทักษะด้านการทำงานเป็นทีมและทักษะที่จำเป็นอื่น ๆ ทางด้านวิศวกรรมด้วย
–
ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นอ้างอิงมาจากประกาศรับสมัครนิสิตจากปีประกาศรับสมัคร 2568 เป็นหลัก คาดว่าจะมีการปรับเปลี่ยนในอนาคต เนื่องจากในปีการศึกษา 2568 ไม่ได้เปิดรับนิสิตในสาขา SEMI รอบ Early Admission และเปิดรับเฉพาะในรอบ Admission เท่านั้น แต่ปีการศึกษาถัดไปน่าจะเพิ่มจำนวนการรับสมัครนิสิตในรอบอื่นเพิ่มขึ้นมา โดยน้อง ๆ สามารถรอติดตามประกาศรับสมัครนิสิตอย่างเป็นทางการจาก เว็บไซต์ ของคณะได้เลย
วิศวะอินเตอร์ จุฬาค่าเทอมเท่าไหร่
สำหรับอัตราค่าเทอมของคณะวิศวะอินเตอร์ จุฬา โดยรวมจะอยู่เทอมละ 109,500 บาท ส่วนในช่วงซัมเมอร์จะอยู่ที่ 48,375 บาท และมีค่าธรรมเนียมในช่วงการฝึกงาน 21,000 บาท (บังคับฝึกงานในช่วงซัมเมอร์ปี 3) ทำให้มีค่าเทอมทั้งหมด 4 ปีอยู่ที่ 897,000 บาท (กรณีไม่ลงเรียนซัมเมอร์) แต่หากเลือกสมัครเข้าโครงการ Exchange Program เรียนแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยคู่ค้าที่ต่างประเทศ นิสิตก็จะต้องดำเนินการชำระค่าเทอมตามอัตราที่มหาวิทยาลัยคู่ค้ากำหนด (งดเว้นค่าเทอมและค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัยที่จุฬาฯ ในเทอมที่ไปแลกเปลี่ยน)
จบ ISE CU มาทํางานอะไรได้บ้าง
คณะวิศวะ เป็นหนึ่งในคณะที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้น ๆ ในทุกปี เพราะนอกจากจะเป็นสายการเรียนที่มีงานรองรับจำนวนมากแล้วยังมีเงินเดือนเฉลี่ยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการเรียนในสาขาอื่น ๆ จึงไม่ต้องกังวลเลยว่าเรียนจบมาแล้วจะตกงาน โดยอาชีพยอดนิยมของนิสิตวิศวะก็ได้แก่ “วิศวกร” ที่มีการแยกสายการทำงานออกไปตามสาขาที่เรียน ดังนี้
- ADME-V และ AERO
วิศวกรในสายวิศวกรรมการออกแบบเครื่องกลการผลิตและวิศวกรรมการบินเป็นสายที่ขาดแคลนแรงงานสูงเนื่องจากมีการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้ความต้องการบุคลากรในสายงานนี้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้นทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยจะมีตัวเลือกอาชีพหลัก ๆ ได้แก่
- วิศวกรเครื่องกล เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรกระบวนการผลิต เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรออกแบบเครื่องกล เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 28,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรซ่อมบำรุง เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 28,000 – 38,000 บาท
- วิศวกรโครงสร้าง เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 31,000 – 50,000 บาท
- วิศวกรคุณภาพ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 48,000 บาท
ทั้งนี้ อัตราเงินเดือนข้างต้นเป็นการเฉลี่ยข้อมูลแบบคร่าว ๆ เท่านั้น หากมีความรู้เกี่ยวกับด้านรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หรือเครื่องบินแบบเฉพาะทางก็จะทำให้อัตราเงินเดือนเพิ่มสูงขึ้นจากที่ระบุเอาไว้ข้างต้นอีกมากเลยทีเดียว
- ICE (วิศวกรรมโทรคมนาคมและการสื่อสาร)
เนื่องจากเป็นสาขาที่บูรณาการความรู้ในสายวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, ไฟฟ้า และอุตสาหการเข้าด้วยกัน ทำให้มีตัวเลือกอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- วิศวกรไฟฟ้า เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 25,000 – 38,000 บาท
- วิศวกรข้อมูล เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 42,000 – 75,000 บาท
- วิศวกรคอมพิวเตอร์ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 35,000 – 51,000 บาท
- วิศวกรแอปพลิเคชัน เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 38,000 – 60,000 บาท
- วิศวกรอุตสาหการ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 29,000 – 50,000 บาท
- วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 45,000 บาท
- วิศวกรโครงสร้าง เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 34,000 – 40,000 บาท
- วิศวกรงานระบบ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 48,000 บาท
- วิศวกรทดสอบระบบ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 50,000 บาท
- NANO (วิศวกรรมนาโน)
สาขานี้ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่เน้นการประยุกต์ความรู้ในหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ทั้งความรู้ทางด้านเคมี, ชีวการแพทย์ และการผลิต จึงสามารถต่อยอดการทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น
- วิศวกรเคมี เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 22,000 – 26,000 บาท
- วิศวกรชีวการแพทย์ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 25,000 – 38,000 บาท
- วิศวกรความปลอดภัย เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 34,000 – 39,000 บาท
- วิศวกรอุตสาหการ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 29,000 – 50,000 บาท
- วิศวกรกระบวนการผลิต เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรออกแบบเครื่องกล เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 28,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรซ่อมบำรุง เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 28,000 – 38,000 บาท
- วิศวกรคุณภาพ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 48,000 บาท
- ROBOTICS AI (วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์)
ในส่วนของตัวเลือกอาชีพของสาขานี้ก็สามารถนำเอาความรู้ไปต่อยอดอาชีพได้ในหลายสาขา ทั้งทางด้านเครื่องกล, งานไฟฟ้า, Mechatronic รวมไปถึงความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและ AI แบบครบถ้วน ตัวอย่างอาชีพเบื้องต้น ได้แก่
- วิศวกร Mechatronic เงินเดือนเริ่มต้น 28,000 – 33,000 บาท
- วิศวกรเครื่องกล เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรกระบวนการผลิต เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรออกแบบเครื่องกล เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 28,000 – 43,000 บาท
- วิศวกรระบบอัตโนมัติ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 29,000 – 45,000 บาท
- วิศวกรไฟฟ้า เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 25,000 – 38,000 บาท
- วิศวกรออกแบบไฟฟ้า เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 27,000 – 39,000 บาท
- วิศวกรคอมพิวเตอร์ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 35,000 – 51,000 บาท
- วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 45,000 บาท
- วิศวกรงานระบบ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 48,000 บาท
- วิศวกรทดสอบระบบ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 50,000 บาท
- วิศวกรซ่อมบำรุง เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 28,000 – 38,000 บาท
- วิศวกรเทคนิค เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 – 48,000 บาท
- SEMI (วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์)
สำหรับสาขาวิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ในประเทศไทยอาจจะยังไม่มีอาชีพรองรับอย่างเป็นทางการมากนัก แต่น้อง ๆ สามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ในการทำงานสายการผลิต ออกแบบ และพัฒนาเครื่องมือในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้คล้ายคลึงกับตัวเลือกอาชีพในสาขา ROBOTICS AI นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาความรู้ไปต่อยอดการทำงานในต่างประเทศร่วมกับบริษัทและองค์กรระดับโลกได้ไม่ยากเลย
*ขอขอบคุณข้อมูลเงินเดือนจาก JobsDB
เทคนิคการเตรียมตัวสอบเข้าคณะ ISE CU
น้องคนไหนวางแผนจะเรียนต่อวิศวะอินเตอร์จุฬาและสงสัยว่า ISE จุฬาเข้ายากไหม ? พี่กริฟฟินก็ขอบอกว่าไม่ยากเกินความสามารถของทุกคนอย่างแน่นอน แต่ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่มีความท้าทายอยู่เช่นกัน เพราะต้องใช้ทั้งคะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จึงอาจต้องใช้ระยะเวลาในการเตรียมตัวติวสอบและเก็บคะแนนให้ครบถ้วนทั้งสามวิชา หรือหากใครเล็งจะเข้ารอบ Portfolio ที่ไม่ต้องยื่นคะแนนความถนัดทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ก็ต้องเตรียมตัวเก็บผลงานเพื่อทำพอร์ต ซึ่งก็ใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งเลยทีเดียว
ถ้าใครต้องการลดระยะเวลาในการเตรียมตัวสอบ สามารถทักมาปรึกษาทีมงาน House of Griffin เพื่อสอบถามคอร์สติวสอบได้เลย เพราะนอกจากจะมีคอร์สติวภาษาอังกฤษทั้ง IELTS TOEFL CU-TEP ให้น้อง ๆ ได้เลือกเรียนตามความต้องการแล้ว ยังมีคอร์สติวสอบวัดความถนัดทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่าง CU-AAT, SAT, ACT และ CU-ATS เป็นตัวเลือกเสริมด้วย