Skip to content

คณะ BaScii CU คืออะไร ? พร้อมแนะแนวทางอาชีพในอนาคต

BAScii CU คือหนึ่งในคณะที่น้อง ๆ กำลังหาข้อมูลเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสาขา “นวัตกรรม” หรือบางคนเรียกว่า BAScii จุฬา แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักและอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรนี้แบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้น พี่กริฟฟินก็ได้รวบรวมสิ่งที่น่าสนใจของคณะนวัตกรรม มาให้ได้ศึกษาเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจเลือกคณะนี้กัน

BAScii CU คืออะไร ?

หลักสูตรศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ Bachelor of Arts and Science in Integrated Innovation ชื่อย่อ BAScii คือ หลักสูตรที่บูรณาการการเรียนการสอนของทั้งรายวิชาด้านมนุษย์ศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน มุ่งเน้นการสร้าง “ผู้ประกอบการนวัตกรรม” ที่มีความรู้ความสามารถแบบรอบด้าน ทั้งวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, ศิลปศาสตร์ ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมและพัฒนาสังคม โดย “คณะนวัตกรรม จุฬา” เป็นคณะน้องใหม่ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ CSII (Chulalongkorn School of Integrated Innovation) ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2562 เพื่อตอบโจทย์การทำงานในโลกศตวรรษที่ 21 จึงเรียกได้ว่าความสดใหม่นี้เป็นจุดขายของหลักสูตรนี้เลย

คณะ BAScii CU เรียนอะไร ?

BAScii CU เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการที่ผู้เรียนสามารถเลือก Mix & Match ความชอบในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม (Innovation) ในสาขา Science, Technology, Engineering, Arts, and Mathematics (STEAM) เน้นการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติจริงและการลงมือทําโครงงานแบบ Project Based-learning เพื่อให้นิสิตได้ทดลองพัฒนานวัตกรรมใหม่ของตนเองขึ้นมาตลอดหลักสูตร

BAScii จุฬาเรียนกี่ปี

สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนในรูปแบบหลักสูตรอินเตอร์ (นานาชาติ) จะเรียน 4 ปี เป็นคณะที่ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมดตลอดการเรียน มีตารางการเรียนคร่าว ๆ ดังนี้

แบ่งเป็น 5 รายวิชา ดังนี้

1. รายวิชาทั่วไป (General Education – Gen-Ed)

การเรียนคณะนี้จะต้องลงหลักสูตรรายวิชาทั่วไปที่เป็นรายวิชาบังคับของมหาวิทยาลัยในช่วงปี 1-2 (Transdisciplinary Study) และรายวิชาทั่วไปแบบเสรีที่สามารถลงเรียนได้ตั้งแต่ช่วงปี 1-4 (จัดตารางเรียนเองได้)

2. รายวิชาหลัก (Core Competency)

รายวิชาที่จะส่งเสริมความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมทั้งในด้านธุรกิจ (Core Business) และด้านเทคโนโลยี (Core Technology) โดยจะเรียนในช่วงปี 1-3 และช่วงปีที่ 3 เทอม 2 สามารถเลือกไปเรียนแบบแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศในมหาวิทยาลัยที่เป็นพาร์ทเนอร์กับทางจุฬาฯ ได้

3. รายวิชาพิเศษ (Specilization)

สำหรับสาขาวิชาแบบเฉพาะทางที่น้อง ๆ สามารถเลือกเรียนตามความสนใจเฉพาะทางในช่วงปี 2-4 ได้ถึง 3 กลุ่ม ดังนี้
  • กลุ่มสุขภาวะและการอยู่ดีมีสุข (Health and Wellbeing)
สาขาวิชาของ BAScii CU เน้นไปที่การสร้างนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ การแพทย์ และความเป็นอยู่ที่ดีโดยใช้แนวทางสหวิทยาการเข้ามาพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลและชุมชน
  • กลุ่มการพัฒนาผังเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน (Smart City and Sustainable Development)
สาขาวิชานี้ของ BAScii CU จะเน้นไปที่การพัฒนาเมืองและชุมชนให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืน และการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการวางผังเมืองอย่างชาญฉลาดเพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยสามารถรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ เช่น การขยายตัวของเมือง การจัดการทรัพยากร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงการเกิดภัยพิบัติ รวมไปถึงการพัฒนาโครงการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวของเมืองในกรณีประสบเหตุไม่คาดฝันได้
  • กลุ่มปัญญาดิจิทัลเชิงประยุกต์ (Applied Digital Intelligence)
สาขาวิชาของ BAScii CU ที่มุ่งเน้นการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-Artificial Intelligence) และ Data Science มาปรับและประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านธุรกิจ การเงิน ตลอดจนสาธารณสุขและสังคม

4. Project Course และ Capstone Project

รายวิชาเกี่ยวกับการพัฒนาโปรเจคนวัตกรรมของคณะ BAScii ตามหัวข้อที่สนใจ นิสิตจะได้ทำโปรเจคตลอดระยะเวลาการเรียนปี 1-4 โดยในช่วงปี 1-3 จะเป็นโปรเจคในรายวิชาย่อยต่าง ๆ อาจเป็นทั้งรูปแบบกลุ่มและเดี่ยว (Project Course) ส่วนในปี 4 จะเป็นรายวิชาโปรเจคที่เป็นเหมือนธีสิสจบ (Capstone Project)

5. Global Citizenship and Future Literacies

เป็นรายวิชาเพิ่มเติมของหลักสูตร ที่ช่วยส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเตรียมพร้อมให้นิสิตสามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะสอดแทรกในบทเรียนช่วงปี 1-4 น้อง ๆ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาต่าง ๆ อย่างละเอียดได้ ที่นี่

เกณฑ์การรับเข้าศึกษาของคณะนวัตกรรม จุฬา

สำหรับใครที่สนใจเรียนต่อในหลักสูตรนี้ ทางจุฬาฯ ได้ออกประกาศเกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อของคณะนวัตกรรม BAScii CU ออกมาเป็นที่เรียบร้อย สำหรับในปี 2568 จะมีเกณฑ์ ดังนี้ 1. กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า โดยสามารถใช้การเทียบวุฒิ เช่น GED, IGCSE/ A level และวุฒิม.ปลายนานาชาติอื่น ๆ ยื่นเข้าเรียนได้ 2. มีคะแนนผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษและความถนัดทางคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง* ตามตารางด้านล่างนี้ ตารางคะแนนจากเกณฑ์การรับเข้าศึกษาของคณะ BaScii CU *ผลคะแนนสอบที่ยื่นเข้าเรียนต่อจะต้องเป็นรอบเดียวกัน ไม่สามารถยื่นคะแนนแบบคละรอบสอบได้ 3. E-Portfolio ผู้ที่สนใจเรียนต่อในคณะนี้ทุกคนจะต้องยื่น E-Portfolio ที่แสดงประวัติผลงานทางวิชาการ, โครงงาน, กิจกรรม หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนที่มีความโดดเด่น (ดาวน์โหลดเทมเพลต E-Portfolio ได้ ที่นี่) ทั้งนี้ เกณฑ์การรับสมัครเข้าศึกษาอาจมีการปรับเปลี่ยนตามปีการศึกษา สามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครนิสิตจาก เว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดียของคณะได้

เรียนคณะ BAScii จุฬา ค่าเทอมเท่าไร ?

สำหรับค่าเทอมของคณะนวัตกรรม จุฬาฯ จะมีอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาอยู่ที่เทอมละ 221,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าเทอมและค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัย ส่วนการเรียนภาคฤดูร้อน (ซัมเมอร์) จะอยู่ที่เทอมละ 55,250 บาท และมีค่าธรรมเนียมการสมัครเพิ่มเติมอีก 1,500 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการโอน)
ค่าเทอม ค่าเทอม (ปกติ) เทอมละ ค่าเทอม (ซัมเมอร์) เทอมละ
ค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัย 25,500 6,375
ค่าเทอม 195,000 48,875
รวมทั้งหมด 221,000 บาท 55,250
ค่าธรรมเนียมการสมัครเรียน 1,500 บาท ตลอดหลักสูตร
ค่าเทอมรวม 4 ปี (ไม่ลงซัมเมอร์) 1,769,500 บาท (รวมค่าธรรมเนียมการสมัครเรียน)

อาชีพในอนาคตสำหรับผู้ที่จบ BAScii CU

ด้วยความรู้และทักษะแบบรอบด้านจึงทำให้ผู้ที่จบจากหลักสูตร BAScii สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย โดยหากสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่าในชื่อหลักสูตรนั้นมีทั้งคำว่า “ศิลปศาสตร์ (Arts)” และ “วิทยาศาสตร์ (Science)” ดังนั้นน้อง ๆ ที่เรียนในคณะนี้ก็จะได้รับทั้งวุฒิศิลปศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์บัณฑิตเลยนั่นเอง ซึ่งก็ทำให้ “โอกาส” ในการหางานของน้อง ๆ กว้างมากยิ่งขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานยุคใหม่

ตัวอย่างอาชีพที่น่าสนใจหลังเรียนจบ

  • ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) : สามารถเริ่มต้นธุรกิจนวัตกรรมของตนเองได้ โดยมีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านเทคโนโลยี ธุรกิจ และการบริหารจัดการ
  • นักพัฒนานวัตกรรม (Innovation Developer) : ทำงานในองค์กรต่างๆ เพื่อคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation Specialist) : ให้คำปรึกษาและวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่องค์กร
  • นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) : วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวโน้มและ Insights ต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
  • นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX/UI Designer) : ออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ใช้งานง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้
  • ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) : บริหารจัดการโครงการนวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย
  • นักวิจัยและพัฒนา (R&D Specialist) : ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ในสาขาต่าง ๆ เช่น สุขภาพ, การวางผังเมืองอัจฉริยะ, พลังงานยั่งยืน, AI
  • ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และหุ่นยนต์ (AI and Robotics Specialist) : พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
  • ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน (Sustainability Consultant) : ให้คำแนะนำแก่องค์กรในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เตรียมสอบเข้าคณะ BAScii CU กับ House of Griffin

มาถึงตรงนี้ถ้าน้องคนไหนสนใจอยากเรียนต่อคณะนวัตกรรม จุฬาฯ อินเตอร์ ขั้นแรกก็จะต้องเริ่มเตรียมทำ E-Portfolio เพื่อใช้ยื่นเข้าเรียนกันก่อน แต่การทำ Portfolio นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีผลงานหรือกิจกรรมที่ได้รางวัลแต่อย่างใด เพียงแค่เคยร่วมทำกิจกรรมอื่นนอกห้องเรียนก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญคือน้อง ๆ จะต้องออกแบบไอเดียที่จะช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและแนบไปใน Portfolio ด้วย เพราะในส่วนนี้จะเป็นจุดที่กรรมการพิจารณาเป็นพิเศษนั่นเอง หลังจากมี Porfolio เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถยื่นเกรดและคะแนนผลทดสอบภาษาอังกฤษและคะแนนความถนัดทางคณิตศาสตร์เพื่อเข้าเรียนต่อคณะนี้กันได้เลย แต่ถ้าน้องคนไหนยังไม่มีคะแนนสอบก็สามารถเลือกติวสอบ IELTS, TOEFL, SAT, ACT, CU-TEP และ CU-AAT กับพี่กริฟฟินได้ หรือใครไม่ได้เรียนในระบบปกติและต้องการยื่นเทียบวุฒิ ที่ House of Griffin ก็มีคอร์สติว GED, IGCSE และ A-LEVEL ให้เลือกลงเรียนอีกด้วย
    ดูรายละเอียดคอร์ส GED GED ครบทุกวิชา
    Share this article