รวมเกณฑ์ Admission คณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ (อัปเดตล่าสุด)


Admission คณะบริหารธุรกิจ ปี 2565

ช่วงนี้ก็ใกล้ถึงเวลาที่น้อง ๆ นักเรียน ม.6 จะต้องเตรียมตัวยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัยกันแล้ว หลาย ๆ คนก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกเรียนคณะอะไรดี แต่ก็มีคนอีกหลาย ๆ คนที่มีคณะในฝันอยู่บ้างแล้ว อีกหนึ่งตัวเลือกที่เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่เด็กนักเรียนไทยมากขึ้นก็คือ การเรียนในหลักสูตรนานาชาติ เพราะจะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษเป็นบันไดสำคัญในการทำงานและหางานในยุคปัจจุบัน เพื่อหาความรู้ พร้อมเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษ การเลือกเรียนคณะนานาชาติก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีและเหมาะสมในปัจจุบัน วันนี้ทาง House of Griffin เลยมีเกณฑ์ Admission คณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ หรือนานาชาติ มาฝากน้อง ๆ ให้ได้เตรียมตัว เริ่มสอบเก็บคะแนนกันได้ก่อน

BBA (Bachelor of Business Administration) หรือคณะบริหารธุรกิจ เป็นหนึ่งในคณะยอดนิยมของนักเรียนไทยหลาย ๆ คน เพราะจบแล้วสามารถออกไปทำงานได้หลากหลาย มีตำแหน่งรองรับในบริษัทต่าง ๆ มากมาย และถ้าหากมีธุรกิจของที่บ้านอยู่แล้ว ก็จะสามารถนำความรู้มาปรับใช้ ต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้อีกด้วย และแน่นอน คณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่ได้รับความนิยมมาก ๆ เพราะเป็นการเปิดโอกาสได้เรียนรู้ ได้แนวคิดใหม่ ๆ มุมมองจากทั่วโลก หลักสูตรเป็นสากล ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งหลักเกณฑ์การสมัครเข้า Admission คณะบริหารธุรกิจ แต่ละมหาวิทยาลัยก็แตกต่างกัน วันนี้เราได้รวบรวมเกณฑ์ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย มาไว้ให้น้อง ๆ ได้ดูแบบง่าย ๆ จบในที่เดียว จะมีเกณฑ์อะไรบ้าง ไปดูกันเลย

เกณฑ์ Admission คณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University – CU)

เมื่อพูดถึงคณะบริหารธุรกิจ อินเตอร์ จะไม่พูดถึงจุฬาฯ ก็ไม่ได้ คณะบริหารธุรกิจอินเตอร์เป็นหลักสูตรแรกของจุฬาฯ ที่มีการเปิดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ มี 2 สาขาให้ได้เลือกเรียน คือ 

  1. การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Management)
    แบ่งได้อีกเป็น 3 สาขาย่อย คือ การจัดการธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Management), การจัดการแบรนด์และการตลาด (Brand and Marketing Management) และการวิเคราะห์การเงินและการลงทุน (Financial Analysis and Investment) ทุกหลักสูตรจะเป็นการเน้นย้ำ เรียนรู้วิธีการบริหารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และสามารถแข่งขันในตลาดปัจจุบันได้
  2. การบัญชี (Accounting)
    นิสิตจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำบัญชีที่มีประสิทธิภาพของนานาประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับการบริหารธุรกิจสมัยใหม่

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

ภาษาอังกฤษ 
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
คะแนนมาตรฐาน 
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
● CU-TEP & Speaking – ไม่ต่ำกว่า 101 (จะต้องเป็นคะแนนจากการสอบครั้งเดียวกันเท่านั้น)
● TOEFL (internet-based) – ไม่ต่ำกว่า 79
● IELTS (Academic) – ไม่ต่ำกว่า 6.5
● CU-AAT (Math & Verbal Sections) – คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 1200
● SAT (Math & Evidence-Based Reading & Writing) – คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 1270

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร:

  • รอบที่ 1 (Early Admission)  27 พฤศจิกายน –  21 ธันวาคม 2566
  • รอบที่ 2 (Admission)  21 กุมภาพันธ์ –  27 มีนาคม 2567

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University – TU)

อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ไม่พูดถึง ไม่ได้ นั่นก็คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ของที่นี่ มีให้เลือกด้วยกันทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่

  1. การเงิน (Finance)
  2. การบัญชี (Accounting)
  3. การตลาด (Marketing)

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

ภาษาอังกฤษ
 (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
คะแนนมาตรฐาน 
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
● TU-GET (paper-based) – 550
● TU-GET (computer-based) – 80
● TOEFL (internet-based) – 80
● IELTS (Academic) – 6.0 โดยที่ทุกทักษะต้องมีคะแนนอย่างน้อย 5.5
● SAT
– SAT (Math) – 600
– SAT (Evidence-Based Reading & Writing) – 460 
– SAT (Total) – 1,200 

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร:

  • รอบ Inter Portfolio 1 : 15 – 25 ธันวาคม 2566 (รับจำนวน 140 คน)
  • รอบ Inter Portfolio 2 : 15 มีนาคม – 1 เมษายน  2567 (รับจำนวน 20 คน)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ คลิก


3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University – KU)

BBA ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และความสามารถในการบริหารธุรกิจด้วยจรรยาบรรณที่ดี นักศึกษาจะสามารถวิเคราะห์และทำการค้นคว้าเพื่อปรับปรุงวิธีการบริหารธุรกิจได้ และสามารถที่จะเข้าไปทำงานในบริษัทต่างชาติได้ โดยเฉพาะบริษัทใน AEC

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

  • KU-EPT > 51
  • TOEFL (iBT) > 72 
  • TOEFL (ITP) > 543
  • IELTS (Academic) ≥ 5.5

อย่างไรก็ตามหากมีคะแนน SAT 1,200 คะแนนขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร: 1 พฤศจิกายน 2566 – 4 มกราคม 2567

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


4. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University International College – MUIC)

อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านหลักสูตรนานาชาติ ก็คือมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะมีส่วนที่เป็นวิทยาลัยแยกโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ พร้อมเครื่องมือในการเรียนการสอนที่ครบครัน

ในส่วนของหลักสูตรบริหารธุรกิจของที่นี่ จะแบ่งออกได้เป็น 4 สาขาวิชา ได้แก่

  1. เศรษฐศาสตร์ (Business Economics)
  2. การเงิน (Finance)
  3. ธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business)
  4. การตลาด (Marketing)

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น: สำหรับ Regular Applicants

ภาษาอังกฤษ 
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
คะแนนมาตรฐาน 
(เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
● TOEFL (iBT) – 69 
● IELTS (Academic) – 6.0
● PTE (Academic) – 50
● Duolingo – 100
● SAT (Math) ไม่น้อยกว่า 600
● ACT (Math) ไม่น้อยกว่า 25

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร:

เทอมที่ 1 เปิดรับช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม และช่วงมิถุนายน – กรกฎาคม

เทอมที่ 2 เปิดรับช่วงเดือนตุลาคม

เทอมที่ 3 เปิดรับช่วงมกราคม (8-23 มกราคม 2567)

โดยนักศึกษาสามารถสมัครเข้าเรียนเริ่มที่เทอมใดก็ได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang – KMITL)

ที่มหาวิทยาลัยลาดกระบังก็มีคณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์เหมือนกัน ที่นี่จะสอนเน้นสอนให้นักเรียนมีทักษะความเป็นผู้นำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบริหารธุรกิจหลากหลายประเภท การเรียนการสอนถูกพัฒนาจากธุรกิจจริง และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น:

ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) *เกณฑ์คะแนนของปี 2566*

  • TOEFL (iBT) – 61 
  • IELTS (Academic) – 5.0
  • CU-TEP – 60
  • TU-GET – 500

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร: 1 พฤศจิกายน – 20 ธันวาคม 2566

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


6. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University – ABAC)


อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีชื่อเสียงด้านหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด และคณะบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (MSME) ก็เป็นอีกหนึ่งคณะที่ใหญ่ที่สุดและมีเชื่อเสียงโดดเด่นของที่นี่ และถือว่าเป็นคณะบริหารธุรกิจหลักสูตรนานาชาติชั้นนำของไทย จะเน้นการเรียนการสอนให้นักศึกษาที่จบออกไปสามารถกลายเป็นผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีโอกาสร่วมสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งของศิษย์เก่า ผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ

คะแนนที่ต้องใช้ยื่น (Optional Test Scores) – ผลสอบมีอายุไม่เกิน 2 ปี

เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยจะมีการจัดสอบ English Proficiency-level test และ Mathematics Placement Test เองอยู่แล้ว ดังนั้นผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษและคะแนนมาตรฐานจึงเป็นทางเลือกที่น้อง ๆ จะยื่นหรือไม่ยื่นก็ได้ ซึ่งถ้าน้อง ๆ มีผลคะแนนสอบ แล้วผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จะได้รับการยกเว้นคอร์ส English Placement Test, English Intensive Course, Mathematics Placement Test, Mathematics Intensive Course หรือ Pre-Calculus เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและลดเวลาในการเรียน

ภาษาอังกฤษ (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

  • TOEFL (iBT)  – 60
  • IELTS (Academic) – 5.0
  • SAT (Mathematics) – 500 
  • SAT (Evidence-based Reading and Writing) – 600

ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัคร:

  • เทอมที่ 2/2566: เปิดรับตั้งแต่วันนี้ – 22 ธันวาคม 2566
  • เทอมที่ 1/2567: เปิดรับตั้งแต่วันนี้ – 19 มีนาคม 2567

โดยนักศึกษาสามารถสมัครเข้าเรียนเริ่มที่เทอมใดก็ได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


ตารางสรุปเกณฑ์ Admission คณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์

มหาวิทยาลัยวุฒิการศึกษาที่ต้องใช้คะแนนภาษาอังกฤษ
(อย่างใดอย่างหนึ่ง)
คะแนนมาตรฐาน
(อย่างใดอย่างหนึ่ง)
ช่วงเวลาเปิดรับสมัคร
CU
มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
TOEFL (iBT) ≥ 79 
IELTS (Academic) ≥ 6.5
SAT (Math & Evidence-Based Reading & Writing) – คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 1270รอบที่ 1: 27 พ.ย. – 21 ธ.ค. 2566
รอบที่ 2: 21 ก.พ. – 27 มี.ค 2567
TU

มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

TOEFL (iBT) – 80
IELTS (Academic) – 6.0 โดยที่ทุกทักษะต้องมีคะแนนอย่างน้อย 5.5
SAT
SAT (Math) – 600
SAT (Evidence-Based Reading & Writing) – 460
SAT (Total) – 1200
รอบที่1 : 15 – 25 ธ.ค. 2566
รอบที่ 2 : 15 มี.ค – 1 เม.ย  2567
KU

มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และต้องมีเกรดเฉลี่ยอย่างน้อย 2.5
TOEFL (iBT) > 72 
TOEFL (ITP) > 543
IELTS (Academic) ≥ 5.5

1 พ.ย 2566 – 4 ม.ค 2567


MUIC
มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
TOEFL (iBT) – 69 
IELTS (Academic) – 6.0
SAT (Math) ≥  600
ACT (Math) ≥ 25
8-23 ม.ค. 2567
KMITLมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และต้องมีเกรดเฉลี่ยอย่างน้อย 2.5TOEFL (iBT) – 61
 IELTS (Academic) – 5.0
CU-TEP – 60
TU-GET – 500
1 พ.ย. – 20 ธ.ค. 2566
ABAC
มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
Optional Test Scores
TOEFL (iBT)  – 60
TOEFL (PBT) – 500 
IELTS (Academic) – 5.0
Optional Test ScoresSAT (Math) – 500 
SAT (Evidence-based Reading and Writing) – 600
เทอมที่ 2/2566: เปิดรับตั้งแต่วันนี้ – 22 ธ.ค. 2566
เทอมที่ 1/2567: เปิดรับตั้งแต่วันนี้ – 19 มี.ค. 2567

ทั้งหมดนี่ก็เป็นข้อมูลเกณฑ์ Admission คณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ ของปี 2567 ที่เราได้รวบรวมมาฝากน้อง ๆ ม.6 ทุกคน ไว้เป็นแนวทางในการเตรียมตัว จะเห็นได้ว่าคณะบริหารธุรกิจ ภาคอินเตอร์ ทุกคณะต้องใช้คะแนนภาษาอังกฤษในการยื่นสมัคร และในบางมหาวิทยาลัย ก็ต้องใช้คะแนนสอบวิชาการยื่นประกอบกันด้วย โดยเราขอแนะนำให้น้อง ๆ เลือกสอบข้อสอบที่สามารถนำไปยื่นคะแนนได้ในหลาย ๆ ที่ ในด้านของภาษาอังกฤษ ควรเลือกเป็น IELTS หรือ TOEFL และด้านวิชาการเราขอแนะนำให้เลือกสอบ SAT เผื่อประหยัดเวลาในการเตรียมตัวสอบ รวมไปถึงประหยัดเงินค่าสมัครสอบด้วย

ที่ House of Griffin เรามีเปิดคอร์ส IELTS, TOEFL รวมไปถึง SAT ให้น้อง ๆ สายอินเตอร์ เตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยฯ หลักสูตรนานาชาติ มีหลายระดับให้เลือกเรียนตามพื้นฐานที่เหมาะกับตัวนักเรียน เพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพสูงสุด เรามีอาจารย์ดูแลอย่างใกล้ชิดรายบุคคล จะเลือกเรียนแบบตัวต่อตัว หรือจะเรียนกลุ่มเล็กก็ได้ตามความต้องการ สนใจรายละเอียดสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ทุกช่องทางเลยนะคะ

สนใจเรียน SAT คลิก

สนใจเรียน IELTS  คลิก

สนใจเรียน TOEFL คลิก

สนใจคอร์ส Online คลิก



โทร. 0-2644-6006-7
LINE: @houseofgriffin

This image has an empty alt attribute; its file name is image.png