Skip to content

ยื่น Port ฉบับเด็กสายอาร์ตอย่างไรให้เข้าตา ได้เข้าคณะที่โดนใจ

portfolio art and design

ยื่น Port ฉบับเด็กสายอาร์ตนั้นไม่ยากอย่างที่คิด แต่สิ่งสำคัญที่สุดของสายนี้ คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่น้อง ๆ จะต้องมีความแปลกใหม่ ไอเดียบรรเจิด สิ่งเหล่านี้จะทำให้น้อง ๆ มีความโดดเด่นขึ้นมา รับรองว่ายื่น Port ไปเข้าตากรรมการแน่นอน อย่างไรก็ตามน้อง ๆ บางคนอาจยังไม่แน่ใจว่าจะต้องเริ่มอย่างไร ต้องมีอะไรบ้าง ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้พี่กริฟฟินจะมาสรุปในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบของการทำ Portfolio ผลงานต่าง ๆ ที่ควรใส่ ตกแต่งอย่างไรให้พอร์ตดูปัง เพื่อให้แฟ้มผลงานน้อง ๆ โดดเด่นพร้อมยื่น TCAS รอบ 1 กันค่ะ

สำหรับเด็กสายอาร์ตนั้นมีทางเลือกในการเรียนต่อมากมายไม่ว่าจะเป็นสาขาออกแบบ สถาปัตย์ มัณฑนศิลป์ จิตรกรรม นิเทศศิลป์ ศิลปกรรม ทั้งภาคไทยและภาคอินเตอร์ บอกได้เลยว่ามาสายนี้อนาคตไกลแน่นอน ซึ่งก่อนอื่นพี่กริฟฟินจะมาแนะแนวสาขาต่าง ๆ ให้น้อง ๆ ได้ลองศึกษาดูว่าอยากเรียนอะไร มหาวิทยาลัยไหน เพื่อที่น้อง ๆ จะได้มีเป้าหมายที่ชัดเจนและจะได้ศึกษาคุณสมบัติของคณะที่สนใจไว้เตรียมตัวล่วงหน้าค่ะ

ยื่น Port เด็กสายอาร์ตภาคอินเตอร์ที่ไหนได้บ้าง

อย่างที่พี่กริฟฟินเกริ่นไปข้างต้นว่าสำหรับเด็กสายศิลปะนั้นก็มีสาขาให้เลือกเรียนมากมายเช่นกันโดยเฉพาะภาคอินเตอร์ ซึ่งพี่กริฟฟินจะมาแนะนำแต่ละสาขาให้น้อง ๆ ได้ศึกษาข้อมูลดู คณะไหนโดนใจก็เตรียมตัวไว้เลยค่ะ

มหาวิทยาลัย
คณะ
CU (Chulalongkorn University)

Bachelor of Science in Architectural Design (INDA)

Bachelor of Fine and Applied Arts (B.F.A.) (COMMDE)

MUIC (Mahidol University International College)
Communication Design Program (CDP)Creative Technology
SUIC (Silpakorn University International College)
Digital Communication Design (DCD)
ABAC (Assumption University)
Digital Design and Innovation (DDI)
KMUTT (King Mongkut’s University of Technology Thonburi)
School of Architecture and Design (SoA+D)
TU (Thammasat University)

Urban Design and Development (International Program) (หลักสูตร 4+1 ปี ตรีควบโท)

Design, Business & Technology Management (English program ตรีควบโท)

ยื่น Port เด็กสายอาร์ตภาคไทยที่ไหนได้บ้าง

สำหรับน้อง ๆ ที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษหรือสนใจอยากเรียนภาคไทยมากกว่า พี่กริฟฟินก็มีตัวเลือกมาน้อง ๆ ได้ลองพิจารณาดังนี้ค่ะ

มหาวิทยาลัย
คณะ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมภายใน
ภูมิสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมผังเมือง
สถาปัตยกรรมไทย
ออกแบบอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมไทย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สถาปัตยกรรม
ภูมิสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมภายใน
ศิลปอุตสาหกรรม
สนเทศสามมิติ
นิเทศศิลป์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ภาควิชาการออกแบบทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • สาขาการออกแบบการสื่อสาร
  • สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาการออกแบบแฟชั่น
  • สาขาศิลปะเครื่องประดับ
ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
  • สาขาศิลปะจินตทัศน์
  • สาขาเซรามิก
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรม (หลักสูตร 4 ปี / 4+2ปี ตรีควบโท)
สถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตร 4 ปี)
ภูมิสถาปัตยกรรม (หลักสูตร 4 ปี)
สถาปัตยกรรมผังเมือง (หลักสูตร 4 ปี)
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (หลักสูตร 4 ปี) บริหารจัดการ
พระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมภายใน
ออกแบบอุตสาหกรรม
นิเทศศิลป์

เห็นไหมคะว่าแต่ละสาขา แต่ละมหาวิทยาลัยน่าเรียนทั้งนั้นเลย พี่กริฟฟินอยากให้น้อง ๆ ลองพิจารณาดูว่าอยากเรียนต่อสาขาไหน มหาวิทยาลัยอะไร และเมื่อตัดสินใจได้แล้วก็เตรียม Portfolio สุดเจ๋งเพื่อยื่น TCAS รอบ 1 ได้เลย ใครพร้อมที่จะเริ่มเตรียมพอร์ตแล้ว ตามมาได้เลยค่ะ

ยื่น Port ฉบับเด็กสายอาร์ตต้องเตรียมอะไรบ้าง

สำหรับการยื่น Port ของเด็กสายนี้ๆ ต้องศึกษารายละเอียดของแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ก่อนว่าทางมหาวิทยาลัยต้องการอะไรบ้าง บางมหาวิทยาลัยอาจมีการจำกัดจำนวนหน้า บางมหาวิทยาลัยอาจไม่ได้จำกัดจำนวนหน้าแต่จำกัดขนาดไฟล์ หรือบางมหาวิทยาลัยอาจมีกำหนดโจทย์มาให้ว่าต้องการผลงานอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งวันนี้พี่กริฟฟินจะมาพูดถึงภาพรวมของการทำ Portfolio ฉบับเด็กสายอาร์ต เพื่อให้น้อง ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำ Portfolio ของตัวเองได้นั่นเอง

Port ของคณะเกี่ยวกับศิลปะมักให้ความสำคัญของผลงานเป็นหลัก ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ ห้ามลอกงาน ควรให้เป็นงานที่ออกมาจากความคิดของตัวเอง กล้าคิด กล้าทำ เป็นโปรเจกต์ที่แปลกใหม่ ทำผลงานที่สามารถสื่อถึงศักยภาพของตัวเองให้ได้มากที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการพิจารณาของกรรมการ

Portfolio ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ส่วนที่ 1: Profile ประวัติส่วนตัว

ในส่วนที่ 1 ให้น้อง ๆ ใส่ประวัติส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด งานอดิเรก ความสามารถพิเศษ เป็นต้น พยายามบ่งบอกถึงความเป็นตัวเองมากที่สุด สรุปง่าย ๆ ว่าในส่วนของหน้านี้น้อง ๆ จะออกแบบการแนะนำตัวอย่างไรก็ได้เพื่อให้กรรมการรู้จักเรามากที่สุดผ่าน Portfolio น้อง ๆ สามารถเพิ่มคำบรรยายสั้น ๆ ว่าทำไมถึงอยากเข้าคณะนี้และมหาวิทยาลัยนี้ แสดงให้เห็นถึง Passion ที่เราอยากเข้าเรียนจริง ๆ

ส่วนที่ 2: Education การศึกษา

ในส่วนที่ 2 การศึกษา ให้น้อง ๆ ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของตัวเองลงไปว่าเรียนที่ไหนมาบ้าง หลักสูตรอะไรบ้าง น้อง ๆ ควรใส่เกรดเฉลี่ยคะแนนสะสมเข้าไปด้วย หากใครที่มีคะแนนสอบอื่น ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ก็สามารถใส่ลงไปได้เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพอื่น ๆ ที่เรามี

ส่วนที่ 3: Activities กิจกรรมต่าง ๆ

ในส่วนที่ 3 ให้น้อง ๆ ใส่กิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยเข้าร่วม ยิ่งมีความเกี่ยวข้องกับสาขาหรือคณะที่อยากเข้าก็ยิ่งดี รวมไปถึงการเรียนออนไลน์หรือคอร์สพิเศษต่าง ๆ ก็สามารถเอามาใส่ในส่วนนี้ได้ ในส่วนของกิจกรรมนี้พี่กริฟฟินแนะนำให้ใส่รูปประกอบพร้อมคำบรรยายสั้น ๆ ลงไป เพื่อให้มีความน่าสนใจและน่าอ่านมากยิ่งขึ้น

ส่วนที่ 4: Certificate เกียรติบัตร

ในส่วนที่ 4 หากน้อง ๆ เคยได้รางวัลหรือเกียรติบัตรต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาหรือคณะที่อยากเข้าก็ใส่มาใน Portfolio ได้เลยค่ะ เพื่อเป็นการการันตีศักยภาพและความสามารถของเรา น้อง ๆ สามารถใส่รูปเกียรติบัตรต่าง ๆ ลงไปได้เลย

ส่วนที่ 5: Artwork ผลงานต่าง ๆ

ส่วนสุดท้ายนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการยื่น Port เลยก็ว่าได้เพราะกรรมการจะตัดสินจากผลงานต่าง ๆ เป็นหลัก อย่างที่พี่กริฟฟินกล่าวไปข้างต้นว่าน้อง ๆ จะต้องศึกษารายละเอียดของสาขา คณะที่อยากเข้าก่อนว่าเกี่ยวกับอะไร แล้วเราก็พยายามทำผลงานโชว์ศักยภาพของเราออกมา ไม่ว่าจะเป็นการวาดมือ, การออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์, การออกแบบ Graphic design, Architecture design, Interior Design เป็นต้น หรือบางมหาวิทยาลัยอาจมีการกำหนดให้วาดมือต่าง ๆ เช่น Portrait, Landscape, Metal, Fabric หรือ Paper เป็นต้น ทั้งนี้น้อง ๆ ก็ควรฝึกมือไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ฝึกยิ่งบ่อยยิ่งดีเพราะมันจะทำให้เราเกิดความชำนาญและสามารถลงรายละเอียดของงานได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ตัวอย่าง Digital Portfolio Requirement ของคณะ COMMDE Chula

  1. พอร์ตต้องประกอบด้วยผลงาน 12 ชิ้น โดยที่ 11 ชิ้นแรก เป็นผลงานที่สื่อถึงทักษะการวาดรูป การระบายสี ภาพถ่าย ผลงาน 3D ภาพสเกตซ์ กราฟิก ฯลฯ ส่วนภาพที่ 12 เป็นภาพที่สื่อถึงความเป็นตัวตนของผู้สมัคร
  2. ผลงานทั้ง 12 ชิ้น จะต้องส่งมาในรูปแบบดังนี้
    • รูปแบบไฟล์ PDF (ผลงาน 1 ชิ้น / หน้า) โดยที่ขนาดไม่เกิน 25 MB
    • รูปแบบ JPEG ไฟล์ 12 ชิ้น (1 ไฟล์ / 1 ผลงาน)
  3. ขนาดของไฟล์ PDF แต่ละหน้า คือ 1920 x 1080 pixels
  4. ที่ด้านล่างขวาของทุกหน้าต้องลง ชื่อ-นามสกุล ผู้สมัครเป็นภาษาอังกฤษ

Reference : https://commde.com/admissions

สุดท้ายการออกแบบ Portfolio อย่าลืมดูในเรื่องของ Mood & Tone ที่เป็นไปในทางเดียวกัน ธีมสีต่าง ๆ ในการตกแต่ง Template ที่น่าสนใจ รวมไปถึงการใช้ Font ต่าง ๆ ให้อ่านง่าย ออกแบบให้ดูดี มีสไตล์ ใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในผลงานเยอะ ๆ และแสดงความเป็นตัวเองให้ได้มากที่สุด เท่านี้น้อง ๆ ก็จะได้ Portfolio สุดปังพร้อมยื่น TCAS รอบ 1 แล้วค่ะ

เรียน Art and Design กับ House of Griffin

จะยื่นพอร์ตคณะสายอาร์ต หัวใจที่สำคัญคือผลงานที่ผ่านมา เพราะเป็นทางเดียวที่คณะกรรมการจะเห็นฝีมือของเรา ดังนั้นผลงานที่น้อง ๆ จะนำไปใส่ในพอร์ตต้องดีที่สุด เสมือนว่าเป็น Master Piece เลยก็ว่าได้ ถ้าใครยังไม่มั่นใจว่าผลงานที่เรามีอยู่นั้นดีที่สุดหรือยัง เรามีคอร์สที่จะช่วยพัฒนาทักษะเฉพาะทางที่น้อง ๆ สามารถนำไปต่อยอดเข้าคณะในฝันได้ นั่นก็คือ Art and Design คอร์สเปิดใหม่ล่าสุดที่ House of Griffin เอาใจสายอาร์ต มีหลากหลายคอร์สให้เลือกมากมายเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับน้อง ๆ ตามความสนใจ ดังนี้

  • Drawing วาดเส้น น้อง ๆ จะได้เรียนถึงการใช้แสงเงา การวาดเรขาคณิต การวาดรูปเหมือนต่าง ๆ ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนได้ หรือใครมีพื้นฐานก็มีคอร์สขั้นสูงและคอร์สความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของน้อง ๆ เพิ่มขึ้นไปอีกค่ะ
  • Architecture Design สำหรับคนที่อยากมาสายสถาปัตย์ น้อง ๆ จะได้ฝึกวาดภาพ Landscape และมีการบูรณาการร่วมกับหลักการวาดภาพทัศนียภาพตามหลักการทางสถาปัตยกรรม (Perspectives)
  • Interior Design การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน จะได้เรียนรู้การออกแบบการจัดวางภายในอาคาร รวมถึงสถาปัตยกรรมภายในทั้งหมด โดยเป็นการออกแบบผ่านการวาดผังแสดงแนวคิดตามรูปแบบการจัดวางแบบนิยม(Sketch Design)
  • Portfolio สำหรับผู้มีพื้นฐานทางศิลปะที่ต้องการศึกษาเทคนิคในการทำงานเฉพาะทางเพิ่มเติม เพื่อสร้างสรรค์และรวบรวมผลงานจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ตามความสนใจ ประกอบด้วย ผลงานภาพวาดเส้น ผลงานทางด้านงานสถาปัตยกรรม การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน และการออกแบบนิเทศศิลป์
  • Find Yourself คอร์สนี้ถือเป็นคอร์สพิเศษจากทางสถาบันเลย เป็นการเปิดโอกาสให้กับคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรหรือถนัดอะไรเป็นพิเศษ คอร์สนี้จะเป็นคอร์สที่ค้นหาตัวเอง น้อง ๆ จะได้สัมผัสกับศิลปะแนวต่าง ๆ ในสาขางานต่าง ๆ ทุกรูปแบบเพื่อที่จะได้รู้ว่าเราชอบหรือถนัดศิลปะแขนงไหนนั่นเอง

พี่กริฟฟินอยากชวนให้น้อง ๆ มาเรียนกับทางสถาบัน House of Griffin รับรองว่าพื้นฐานแน่น ได้ฝึกฝนทักษะเฉพาะทางที่สนใจ ไอเดียบรรเจิด เกิดทุกผลงาน พร้อมยื่น Port เข้าคณะในฝันแน่นอน

Share this article