Skip to content

แนะนำคณะแพทย์ CICM TU เรียนกี่ปี ค่าเทอมเท่าไร

แนะนำคณะ แพทย์ CICM TU เรียนกี่ปี ค่าเทอมเท่าไร

พี่กริฟฟินขอแนะนำคณะแพทย์ CICM ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับใครที่มีความฝันอยากเรียนต่อหมอหลักสูตรอินเตอร์แต่ยังไม่รู้จะเลือกเรียนที่ไหนดี โดยในบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับคณะแพทย์ CICM ของธรรมศาสตร์กันให้มากยิ่งขึ้น ทั้ง CICM คืออะไร เรียนอะไร มีเกณฑ์รับสมัครยังไง ไปจนถึงวิธีเตรียมตัวสอบเข้าคณะแพทย์แบบครบจบในที่เดียว

คณะแพทย์ CICM TU คืออะไร

CICM TU คือ หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตของวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Chulabhorn International College of Medicine, Thammasat University เป็นสถาบันแพทยศาสตร์ที่สอนด้วยหลักสูตรนานาชาติแห่งแรกในประเทศไทย (English Program) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 โดยในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่อีกครั้งในปี 2567 และเพิ่มการรับนักศึกษาในหลักสูตร International Program เพิ่มขึ้นมา ทำให้น้อง ๆ มีตัวเลือกในการเรียนมากยิ่งขึ้นและขยายโอกาสของแพทย์ยุคใหม่ไปได้ไกลกว่าเดิม

CICM TU เรียนอะไร มีสาขาอะไรบ้าง ?

สำหรับตอนนี้การเรียนการสอนของคณะแพทย์ CICM จะมีทั้งหมด 5 สาขาวิชา 6 หลักสูตร ดังนี้

1. แพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine)

หลักสูตรนี้จะสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ English Program ที่เป็นหลักสูตรดั้งเดิมและ International Program ที่เป็นหลักสูตรใหม่ โดยทั้ง 2 หลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • English Program : หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (Doctor of Medicine, M.D.) ใช้ระยะเวลาการเรียนทั้งหมด 6 ปี เป็นหลักสูตรดั้งเดิมที่ออกแบบมาเพื่อสร้างบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้และคุณธรรมในการให้บริการดูแลสุขภาพแก่ผู้คนในทุกระดับชุมชน โดยกระตุ้นให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความเป็นผู้นำ และมีรายวิชาที่สอนเกี่ยวกับการวิจัยทางคลินิกและวิทยาศาสตร์สุขภาพแบบสหวิทยาการที่จะช่วยต่อยอดการศึกษาทางด้านการแพทย์เพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลักสูตรนี้จะรับเฉพาะ “นักศึกษาไทย” เท่านั้น โดยจะเปิดรับนักศึกษาปีละ 30 คน (รอบ Portfolio 29 คน และรอบโควต้า 1 คน)

การเรียนการสอนของ English Program จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระดับชั้นพรีคลินิก ปีที่ 1-3 เรียนที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (CICM TU) และระดับชั้นคลินิก ปีที่ 4-6 เป็นการฝึกงานคลินิกในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

  • International Program : หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ใช้ระยะเวลาเรียน 6 ปีเท่ากับการเรียนหมอตามปกติ แต่ได้ปริญญาถึง 2 ใบ คือ ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine, M.D.) และปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ Bachelor’s degree in Science (B.Sc. Medical Science)

เป็นหลักสูตรการเรียนรู้แบบผสมผสานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ากับความรู้ทางด้านคลินิก โดยยึดหลักแนวคิด “แพทย์ผู้สร้างสรรค์เพื่อประชาชน” ในระดับนานาชาติเพื่อให้การบริการและดูแลสุขภาพอย่างดีที่สุด เปิดรับนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างชาติ ปีละ 32 คน (รอบ Portfolio 31 คน และรอบโควต้า 1 คน)

ส่วนการเรียนการสอนของ International Program จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ระดับชั้นพรีคลินิก ปีที่ 1-3 เรียนที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (CICM TU) จังหวัดปทุมธานี และระดับชั้นคลินิก ปีที่ 4-6 เป็นการฝึกงานคลินิกในโรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง

ตารางเทียบความแตกต่างระหว่างหลักสูตร English Program และ International Program

ตารางเทียบความแตกต่างระหว่างหลักสูตร English Program และ International Program

2. ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Dental Surgery)

สำหรับคณะแพทย์ CICM หลักสูตรทันตแพทย์ศาสตร์บัณฑิต (Doctor of Dentel Surgery) หรือที่หลายคนนิยมเรียกว่า “ทันตะ มธ. อินเตอร์” จะเป็นหลักสูตรที่ทาง CICM พัฒนาขึ้นร่วมกับคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีการเรียนการสอนเป็นระบบสองภาษา (Bilingual Program) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทันตแพทย์ที่มีศักยภาพและมีความรู้เชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับการผ่าตัดทางทันตกรรม รวมไปถึงมีทักษะการสื่อสารที่ดีเพื่อรับมือกับผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศได้

โดยคณะแพทย์ CICM ทันตะ จะมีการเรียนการสอนทั้งหมด 6 ปี เท่ากับการเรียนทันตะทั่วไป มีการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติงานที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตลอดหลักสูตร รับนักศึกษาเฉพาะผู้ที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น เปิดรับสมัครปีละ 20 คน (รอบ Portfolio 19 คน และรอบโควต้า 1 คน)

3. แพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine)

ทางด้านของหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต (Traditional Chinese Medicine) เป็นหลักสูตรที่ทาง CICM พัฒนาขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเฉิงตู จึงเป็นหลักสูตรสองปริญญาที่นักศึกษาจะได้รับทั้ง Bachelor of Traditional Chinese Medicine (B.CM.) ที่เป็นปริญญาตรีการแพทย์แผนจีนบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Bachelor of Traditional Chinese Medicine จาก Beijing University of Chinese Medicine, China รับนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ (ยกเว้นผู้ที่มีสัญชาติจีน) ปีละ 30 คน แบ่งออกเป็นรอบ Portfolio 19 คน รอบ Inter Admission 5 คน รอบโควต้า 2 คน และรอบ Admission อีก 5 คน (จำนวนการเปิดรับนักศึกษาแต่ละรอบอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษา)

การเรียนการสอนของแพทย์แผนจีน จะเรียนทั้งหมด 6 ปี และแบ่งการเรียนออกเป็น 4 ช่วง คือ

  • ระดับชั้นปีที่ 1 เรียนที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • ระดับชั้นปีที่ 2, 5 และ 6 (เทอมแรก) เรียนที่ Beijing University of Chinese Medicine สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • ระดับชั้นปีที่ 3 และ 4 เรียนที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • ระดับชั้นปีที่ 6 ในเทอมสุดท้ายจะเป็นการฝึกเวชปฏิบัติก่อนสิ้นสุดหลักสูตร สามารถเลือกไปฝึกงานได้ทั้งที่ คลินิกการแพทย์ผสมผสานบริการด้านการแพทย์แผนจีน วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,คลินิกการประกอบโรค ศิลปะสาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว และโรงพยาบาลชลบุรี

4. ทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (Doctor of Optometry)

หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (Doctor of Optometry) ของคณะแพทย์ CICM นั้น ไม่ได้เป็นการเรียนเพื่อเป็น “จักษุแพทย์” หรือหมอตา เพราะการจะเป็นแพทย์สายตาได้นั้นจะต้องผ่านการเรียนหลักสูตรแพทยศาสตร์และการเรียนต่อเฉพาะทาง แต่หลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์จะมุ่งเน้นการพัฒนา “นักทัศนมาตรวิชาชีพ” ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านดวงตาเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการมองเห็น การคัดกรองโรคเกี่ยวกับดวงตาเบื้องต้น การตรวจกล้ามเนื้อตา ไปจนถึงการวัดสายตาประกอบแว่น แต่ไม่เกี่ยวข้องกับ “การผ่าตัด” นั่นเอง โดยเมื่อจบหลักสูตร ผู้เรียนจะต้องทำการทดสอบใบประกอบโรคศิลป์เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น “นักทัศนมาตรวิชาชีพ” ด้วยตนเอง 

หลักสูตร CICM (O.D.) จะมีการเรียนการสอนทั้งหมด 6 ปี เทียบเท่ากับการเรียนหมอ โดยมีการเรียนการสอนและฝึกปฏิบัติงานที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตลอดหลักสูตร รับนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติปีละ 30 คน แบ่งออกเป็นรอบ Portfolio 19 คน รอบ Inter Admission 5 คน รอบโควต้า 2 คน และรอบ Admission อีก 5 คน (จำนวนการเปิดรับนักศึกษาแต่ละรอบอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษา)

5. เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (Cardiovascular and Thoracic Technology)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (Cardiovascular and Thoracic Technology) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจระบบหัวใจและทรวงอก โดยมีการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งในรูปแบบการเรียนในห้องเรียนตามปกติ การเรียนรู้แบบ Problem-Based Learning (PBL), Team-Based Learning (TBL) และ Project-Based Learning นอกจากนี้ยังมีรายวิชาด้านการฝึกปฏิบัติในระดับคลินิกในศูนย์บริการสุขภาพทั้งของรัฐและเอกชนอีกด้วย

หลักสูตรนี้แม้ว่าจะอยู่ในการดูแลของวิทยาลัยนานาชาติแพทย์ศาสตร์จุฬาภรณ์ CICM แต่ไม่ได้เป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์ จึงมีการเรียนการสอนเพียง 4 ปีเท่านั้น และเมื่อจบหลักสูตร ผู้เรียนจะต้องทำการสอบเพื่อรับใบอนุญาตเฉพาะจากกระทรวงสาธารณสุขด้วยตนเอง เปิดรับนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติปีละ 31 คน แบ่งออกเป็นรอบ Portfolio 21 คน รอบ Inter Admission 5 คน รอบโควต้า 2 คน และรอบ Admission อีก 3 คน (จำนวนการเปิดรับนักศึกษาแต่ละรอบอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับจำนวนนักศึกษา)

CICM เรียนกี่ปี ? 

สำหรับตอนนี้ที่คณะแพทย์ CICM จะมีทั้งหมด 5 สาขา 6 หลักสูตร โดยระยะเวลาในการเรียนก็จะมีตั้งแต่หลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 6 ปี ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่น้อง ๆ เลือกเรียน ดังนี้

หลักสูตร CICM เรียน 4 ปี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก (Bachelor of Science in Cardiovascular and Thoracic Technology)

หลักสูตร CICM เรียน 6 ปี

  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Medicine) ทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) และหลักสูตรนานาชาติ (International Program)
  • หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of Dental Surgery) หลักสูตรทวิภาษา (Bilingual)
  • หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต (Bachelor of Traditional Chinese Medicine)
  • หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (Doctor of Optometry)

CICM TU ค่าเทอมเท่าไร

สำหรับอัตราค่าเทอมของคณะแพทย์ CICM ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่เลือกเรียน รวมไปถึงจะมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่ต้องชำระเพิ่มเติม (เรียกเก็บครั้งเดียว) ด้วย สามารถดูรายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้เลย

เกณฑ์การรับสมัครนักศึกษาของคณะ CICM

ถ้าใครสนใจเรียนต่อคณะนี้พี่กริฟฟินก็ได้รวบรวมเกณฑ์การรับสมัครนักศึกษาของ CICM TU มาไว้ให้แล้ว โดยเกณฑ์ด้านล่างนี้จะเป็นของปีการศึกษา 2568 หากมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การรับสมัครเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบด้วยตัวเองที่ เว็บไซต์ ของทาง CICM ได้เลย

ตารางเกณฑ์การรับสมัครนักศึกษาของ CICM TU

ตารางเกณฑ์การรับสมัครนักศึกษาคณะ แพทย์ CICM TU

    *มีผลการเรียนและการสอบในรายวิชาชีววิทยา (Biology) เคมี (Chemistry) ฟิสิกส์ (Physics) หรือคณิตศาสตร์ (Mathematic) โดยอนุญาตให้ใช้คะแนนสอบแบบ Combined Science ทดแทนได้ แต่ไม่รับผู้ที่มีวุฒิ GED

    ** ไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ หรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา เช่น ตาบอด หรือสายตาเลือนราง ทั้งข้างเดียวและสองตา หรือตาบอดสีตั้งแต่ระดับปานกลาง (moderate) ขึ้นไป มีค่าการรับรู้สามมิติ (Stereopsis) ไม่น้อยกว่า 40 secs of arc

    นอกจากนี้ สำหรับน้องคนไหนที่เลือกยื่นเข้าศึกษาต่อ CICM TU ในรอบ Inter Portfolio จะต้องแนบ Portfolio ที่แสดงประวัติผลงานทางวิชาการ, โครงงาน, กิจกรรม หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนที่มีจำนวนไม่เกิน 10 หน้าควบคู่กันไปในการสมัครเรียนด้วย

    เรียนคณะ CICM จบมาทำงานอะไร

    หลังจากจบการศึกษาที่นี่แล้ว น้อง ๆ ก็สามารถเลือกทำงานได้อย่างหลากหลายตามสาขาที่เลือกเรียน ไม่ว่าจะเป็น

    • แพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือคลินิก (นอกจากนี้ยังสามารถเลือกเรียนต่อเฉพาะทางเพื่อต่อยอดการทำงานในอนาคตได้อีกด้วย)
    • ทันตแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือคลินิก (สำหรับผู้ที่จบสาขาทันตแพทยศาสตร์)
    • ทำงานในระบบราชการ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย หรือสถาบันการแพทย์ต่าง ๆ
    • เปิดคลินิกส่วนตัว (คลินิกการแพทย์, คลินิกทำฟัน, คลินิกแพทย์แผนจีน หรือร้านแว่น ตามสาขาที่เลือกเรียน)
    • นักทัศนมาตรในโรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือคลินิก หรือร้านแว่น (สำหรับผู้ที่จบสาขาทัศนมาตรศาสตร์)
    • นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกในโรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือคลินิก (สำหรับผู้ที่จบจากสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก)
    • นักปฏิบัติการเครื่องหัวใจในโรงพยาบาลรัฐ เอกชน หรือคลินิก (สำหรับผู้ที่จบจากสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก)
    • อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
    • นักวิจัย
    • นักวิชาการ

    เตรียมพร้อมสอบติดแพทย์ไปกับ House of Griffin

    น้องคนไหนอยากเข้าคณะแพทย์ CICM คงได้เห็นแล้วว่าทั้ง 6 หลักสูตรนั้นมีเกณฑ์การรับนักศึกษาที่คล้ายคลึงกัน โดยทุกสาขาจะต้องยื่น “คะแนนผลการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ” เข้าเรียนด้วย เนื่องจากเป็นหลักสูตรอินเตอร์ทั้งหมด ถ้าใครอ่อนภาษาอังกฤษอาจจะเรียนไม่รู้เรื่องได้นั่นเอง ซึ่งถ้าใครยังไม่มีคะแนนสอบในส่วนนี้และอยากได้คะแนนสูง ๆ แบบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของแต่ละหลักสูตรแล้วละก็ สามารถเลือกลงติว IELTS, TOEFL และ TU-GET กับ House of Griffin ได้เลย ส่วนน้อง ๆ ที่อยากเข้าหมอและทันตะที่ต้องใช้คะแนน UCAT พี่กริฟฟินก็มีคอร์ส ติว UCAT แบบเจาะลึก โดยนอกจากจะมีติวเตอร์เก่ง ๆ ที่คอยสอนน้อง ๆ ให้เข้าใจบทเรียนแล้ว ยังมีทีมวิชาการคอยช่วยเหลือวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของน้อง ๆ เป็นรายบุคคลอีกด้วย

      Share this article